ชักเย่อ


จำนวนผู้เล่น    ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น:   
แบ่งผู้เล่นเป็น ฝ่าย ให้มีจำนวนเท่ากันๆ กัน นำเชือกเส้นใหญ่ที่มีความเหนียวพอจะทานกำลังของผู้เล่นทั้ง ฝ่ายได้ แล้วให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจับสลากหรือจับไม้สั้นไม้ยาวเลือกแดน ผู้เล่นจะไปยืนประจำที่ข้างเชือกที่วางกะระยะให้ห่างกัน พอให้ไม่ชนกันได้ขณะเอนตัวดึงเชือก เมื่อวางระยะดีแล้ว ผู้เล่นจะดึงเชือกให้สูงพอเอว ผู้ตัดสิน จะไปยืนตรงเส้นศูนย์กลาง เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณ ทั้งสองฝ่ายจะลงมือดึงเชือก พยายามให้อีกฝ่ายหนึ่งลู่ไปทิศทางของตน แต่ละฝ่ายมีผู้ให้สัญญาณเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงกัน ผู้ที่อยู่ต้นเชือกและหางเชือกเป็นคนสำคัญยิ่งในระหว่างดึงนั้น ถ้าผู้ใดเสียหลักยันพื้นไม่อยู่ก็จะเสียกำลัง ความสนุกอยู่ที่ผู้ให้สัญญาณและผู้เล่นที่มีสีหน้าต่างๆ กัน ถ้าฝ่ายใดดึงให้อีกฝ่ายหนึ่งให้ลู่ตามไปจนถึงเส้นชัยจะเป็นฝ่ายชนะ
การละเล่นของเด็ก
            การเล่นเป็นชีวิตจิตใจของเด็ก ไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบเล่น ไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อนๆ การเล่นและเด็ก 
จึงมีความสัมพันธ์กัน เด็กที่ไม่รู้จักเล่นหรือไม่ชอบเล่นอาจกล่าวได้ว่าผิดธรรมชาติ เป็นเด็กซึ่งไม่สมบูรณ์ทางกายหรือสมอง การเล่นไม่ใช่การใช้เวลาสูญเปล่า แต่เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการส่งเสริมความสามารถทางกายจิตใจ และช่วยให้มีสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า
 "เมื่อไรควรเล่น" การเล่นจะให้ประโยชน์อย่างไร แม้ในบางครั้งก็ยังใช้ "การเล่น" เป็นสื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าวิธีอื่น
           การเล่นของเด็กไทยก็มีหลายอย่างที่เหมือนกับเด็กชาติอื่น และที่แตกต่างเป็นของไทยโดยเฉพาะก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม    และธรรมชาติของแต่ละชาติ เช่น การเล่นซ่อนหาในยุโรปก็มีเล่นกันมาก วิธีเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย การเล่นของเด็กในเอเชียที่คล้ายกันได้แก่ หมากเก็บ ในอินเดียวและฟิลิปปินส์ก็มีแต่วัสดุที่นำมาเล่นต่างกัน ดังนี้เป็นต้น
           การละเล่นของเด็กไทยที่จะนำมากล่าวถึงจะเป็นเพียงตัวอย่างที่เลือกมาจากที่เล่นกันอยู่ในสมัยโบราณ เฉพาะที่มีคุณค่า  
ในการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ การเล่นบางอย่างยังยืนยงมาถึงปัจจุบัน บางอย่างก็หมดไปด้วยวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่ เพราะเด็กขาดความอิสระเสรีในการเล่นพ่อแม่ ครูเข้า มามีบทบาทในการกำหนด การเล่นของเด็กมากขึ้น การเล่นแบบเดิมนี้จึงควรอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติวัฒนธรรมของไทย ให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จัก และเพื่อศึกษาลักษณะสังคมไทยในสมัยนั้น ๆ
การละเล่นของเด็กและผู้ใหญ่        
        ชักเย่อ ลูกช่วง งูกินหาง โค้งตีนเกวียน จ้ิองเด ไม้หึ่ง รีรีข้าวสาร สะบ้า แม่ศรีคล้องช้าง ว่าว        
        
        ชักเย่อ
                 ผู้เล่นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย มีจำนวนเท่ากัน (นอกจากจะตกลงกันเป็นพิเศษ เช่น ฝ่ายหนึ่งชายฝ่ายหนึ่งหญิง จะให้ชายมีจำนวนน้อยกว่าหญิงก็ได้)
      วิธีเล่น นำเชือกเส้นใหญ่ที่มีความแข็งแรงพอจะทานกำลังผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่จะดึงเชือกนั้นมาวาง มีเส้นเขตกลาง ซึ่งจะวางเชือกให้กึ่งกลางตรงเส้นพอดี แล้วให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจับสลาก หรือไม้สั้นไม้ยาว ว่าใครจะอยู่ด้านไหนเมื่อได้สลากแล้วผู้เล่นจะไปยืนประจำที่ข้างเชือกที่วาง กะระยะให้ห่างกัน พอให้ไม่ ชนกันได้ขณะเอนตัวดึงเชือก เมื่อวางระยะดีแล้ว ผู้เล่นจะดึงเชือกให้สูงพอเอว ผู้ตัดสินจะไปยืนตรงเส้นเขตกลาง (ซึ่งเป็นเส้นชัยด้วย) เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญา-ณ ทั้งสองฝ่ายจะลงมือดึงเชือกพยายามให้อีกฝ่ายหนึ่งลู่ไปในทิศทางของตนแต่ละฝ่ายมีผู้ให้สัญญาณเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงกัน ผู้ที่อยู่ต้นเชือกและหางเชือกเป็นคนสำคัญ ยิ่งในระหว่างดึงนั้น ถ้าผู้ใดเสียหลักยันพื้นไม่อยู่ก็จะเสียกำลัง ความสนุกอยู่ที่ผู้ให้สัญญาณและผู้เล่นที่มีท่าทางสีหน้าต่างๆ กัน การแพ้ชนะอยู่ที่ฝ่ายไหนสามารถดึงอีกฝ่ายหนึ่งให้ลู่ตามไปถึงเส้นชัยจะเป็นฝ่ายชนะ การเล่นชนิดนี้ฝึกความพร้อมเพรียง ความอยู่ในระเบียบวินัย การทรงตัวและ ออกกำลังกายทั้งแขนและขา
การละเล่นแบบนี้ในภาคเหนือเรียกว่า "ยู้ส้าว" มีวิธีการเล่นเหมือนกันกับภาคกลางแต่ภาคเหนือมีคำร้องประกอบด้วย   
ลูกช่วง
                 แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายเท่า ๆ กัน อุปกรณ์การเล่น ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่ห่อเอาหญ้าแห้งหรือวัตถุนิ่ม ๆ ให้เป็นลูกกลม ๆผูกชายไว้ ยาวพอจะโยนได้
    วิธีเล่น  แบ่งเขตผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ยืนห่างกันพอสมควร เริ่มต้นโยนลูกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ ถ้ารับได้ก็มีสิทธิ์ที่จะปาให้ถูกตัวคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ถ้าปาไม่ถูกก็พับไปต้องโยนกลับไปให้ฝ่ายตรงข้ามให้เป็นผู้รับถ้าปาถูกคนไหนคนนั้นต้องไปเป็นเชลยอีกฝ่ายหนึ่งเล่นสลับกันดังนี้ต่อไปจนเหนื่อยฝ่ายไหนได้เชลย
มากฝ่ายนั้นชนะ
               การเล่นชนิดนี้ฝึกความสังเกต ความว่องไวและความรับผิดชอบ ภาคอีสานและภาคใต้มีการเล่นคล้ายกัน ต่างกันที่การโยนลูกช่วงนั้น
ผู้โยนลูกช่วงเป็นผู้ขี่คอคนซึ่งสมมุติเป็นม้า การเล่นชนิดนี้ภาคอีสานเรียกว่า "ม้าหลังโปก" ภาคใต้เรียกว่า "ขี่ม้าโยนรับ""ขี้ม้าโยนผ้า" ความสนุกอยู่ที่การ หลอกล่อของคนและม้าตอนรับกัน ถ้าลูกตกม้าเก็บได้ก็อาจทำพยศให้คนตกเป็นต้น
   
    
      
                  
        
       งูกินหาง
      วิธีเล่น     ให้คนหนึ่งเป็นพ่องู อีกคนหนึ่งเป็นแม่งู พ่องูยืนหันหน้าเข้าหาแม่งู นอกนั้นเป็นลูกงูจับเอวกันเป็นแถวยาว ความยาวของลูกงูนั้นขึ้นอยู่กับจำนวน
ของผู้เล่น ในการเล่นมีบทพูดโต้ตอบกัน ดังนี้
พ่องู : แม่งูเอ๋ย
แม่งู : เอ๋ย (ลูกงูช่วยตอบ)
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อโศก
ลูกงู : โยกไปก็โยกมา (แม่งูและลูกงูโยกตัว ขยายแถวทั้งแถว)
พ่องู : แม่งูเอ๋ย
แม่งู : เอ๋ย
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อทราย
ลูกงู : ย้ายไปก็ย้ายมา (วิ่งทางซ้ายทีขวาที)
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อหิน
ลูกงู : บินไปก็บินมา (ทำท่าบินแล้วจับเอวต่อ)
พ่องู : หุงข้าวกี่หม้อ
แม่งู : ..... หม้อ (เท่ากับจำนวนลูกงูกับแม่งู)
พ่องู : ขอกินหม้อได้ไหม
ลูกงู : ไม่ได้
พ่องู : ตำน้ำพริกกี่ครก
แม่งู : ..... ครก
พ่องู : ขอกินครกได้ไหม
ลูกงู : ไม่ได้
พ่องู : ทอดปลาทูกี่ตัว
แม่งู : …….. ตัว
พ่องู : ขอกินตัวได้ไหม
ลูกงู : ไม่ได้
พ่องู : กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว
แม่งู : กินหางตลอดหัว
พ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถวขึ้นมาหัวแถว แม่งูต้องพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูเอาลูกงูไปได้โดยการกางมือกั้น แล้วลูกงูต้องคอยวิ่งหนีแต่ต้องระวังไม่ให้ แตกแถว
เมื่อจับลูกงูได้พ่องูจะถามลูกงูว่า
พ่องู : อยู่กับพ่อหรืออยู่กับแม่
ลูกงู : อยู่กับแม่
พ่องู : ลอยแพไป
พ่องู : หักคนจิ้มน้ำพริก
พ่องูก็จะจับลูกงูให้ออกจากการเล่นไปอยู่เช่นนี้จนจับได้หมด ถ้าตอบว่า "กินกลางตลอดตัว" พ่องูจะจับลูกงูตัวแรกในบริเวณกลางลำตัว ต่อ ๆ ไปก็เลือกจับตามใจชอบ
ลูกงูต้องหลบหลีกให้ดี
ถ้าแม่งูตอบว่า กินหัวตลอดหาง พ่องูต้องพยายามปล้ำกับแม่งูให้แพ้ชนะให้ได้ แล้วจับลูกตั้งแต่หัวแถงลงไปจนหมด เป็นอันจบเกม
การเล่นชนิดนี้ นอกจากให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึกภาษา ถ้าเป็นการเล่นของเด็กจะมีเพียงบทโต้ตอบดังกล่าวเพื่อเป็นการเรียนรู้ในการสื่อสารในเรื่องความหมายของกริยาต่างแต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะใช้บทร้องพระนิพนธ์ของ
สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องอิเหนาตอนเสี่ยงเทียนให้เด็กร้องที่หน้าวิหารเพียง ๒ บท ต่อไปนั้นผู้เล่นก็จะใช้ปฏิภาณ
ในการโต้ตอบจนพอใจจึงจะวิ่งไล่จับกัน
         " แม่งูเอ๋ยเจ้าไปอยู่ที่ไหนมา
           ไปกินน้ำหนากลับมาเมื่อตะกี้
            กินน้ำบ่อไหนบอกไปให้ถ้วนถี่
            จะบอกประเดี๋ยวนี้
            บอกมาซีอย่าเนิ่นช้า
            ไปกินน้ำเอย ไปกินน้ำบ่อหิน (ซ้ำ)
             บินไปก็บินมา ฉันรักเจ้ากินรา
             บินมาบินไปเอย"
พ่องูจะถามซ้ำ แม่งูจะตอบว่าไปกินน้ำบ่ออื่นๆ ร้องให้รับกัน การเล่นในภาคเหนือเรียกว่า "งูสิงสาง" วิธีเล่นคล้ายกัน แต่ไม่มีพ่องููแม่งูคนหนึ่งจะขุดดินคนที่เหลือ
จับเอวกันเป็นงู ฝ่ายที่เป็นงูเดินไปรอบ ๆ แล้วมีการโต้ตอบกันระหว่างคนขุดดินกับงูเป็นภาษาเหนือล้อเลียนกันตอนแรกงูถามว่าขุดอะไร ขอบ้าง (อ้างชื่อของใน
ดิน เช่น แห้ว มัน) ต่อมาคนขุดดินของงูบ้างงูไม่ให้ บอกให้ไล่จับเอา 
        
                  คังตีนเกวียน
 โค้งตีนเกวียน หรือระวงตีนเกวียน (ภาคอีสาน)
          วิธีเล่น ในภาคอีสานจะแบ่งคนเล่นเป็นสองพวก พวกหนึ่งยืน พวกหนึ่งนั่งสลับกันไปพวกที่นั่งเอาเท้ายันกันไว้ มือจับคนยืนจับกันเป็นรูปวงกลม พวกยืน เดินไปรอบ ๆ พวกนั่งยกกับพ้นพื้นหมุนไปรอบ ๆ ถ้าฝ่ายหนึ่งทำมือหลุดเป็นฝ่ายแพ้ ต้องเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายยืน
                      การเล่นชนิดนี้ภาคกลาง เรียกว่า "หมุนนาฬิกาหรือทอดกระทะ เป็นการเล่นฝึกการทรงตัว ความพร้อมเพรียงและความอดทน
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น